ทักษะของผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพมี 6 ด้าน ดังนี้
1.ทักษะการสื่อสาร
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้จัดการ พนักงาน ผู้ประสานงาน หรือแม้แต่เป็นหัวหน้าครอบครัวก็ตาม ทักษะความเป็นผู้นำของคุณนั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่ง 5 ทักษะต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณเป็นผู้นำที่ดีขึ้น และจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของคุณกับผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับคนในทีมหรือคนในครอบครัวของคุณได้อย่างดี
1.รู้จักตัวเอง
2.รู้จักและเข้าใจผู้ฟัง
3.พูดให้ตรงประเด็น ชัดเจน และเจาะจง
4.ให้ความสำคัญกับภาษากาย และสีหน้าหน้าท่าทาง
5.ฟังมากกว่าพูด
หมั่นบันทึกทุกอย่าง. ขณะที่ทำตามแผนการทำงาน หมั่นจดทุกสิ่งทุกอย่าง เราอาจพบว่าสิ่งที่จดไว้สามารถเป็นหลักช่วยเราจัดภารกิจต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ เมื่อกำลังวางแผนการทำงานขึ้นมา ตัวอย่างหมวดหมู่มีดังนี้
· * สิ่งที่คิดหรือสิ่งที่จดต่างๆ
· * ตารางประจำวัน
· * ตารางประจำเดือน
· * ขั้นตอนและระยะเวลา
· * การศึกษาค้นคว้า
· * การติดตามผล
· * ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ต้องติดต่อ
รู้ว่าตนเองต้องการทำอะไร. ถ้าไม่รู้อย่างชัดเจนว่าตนเองต้องการทำอะไร แผนการทำงานที่วางไว้ก็อาจใช้ไม่ได้ผลมากนัก ฉะนั้นพยายามกำหนดให้ชัดเจนว่าตนเองต้องการทำอะไรให้สำเร็จบ้าง กำหนดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนเริ่มลงมือทำงาน
· ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรากำลังพยายามเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทให้เสร็จ นี้เป็นงานเขียนหลายหน้า อาจต้องเขียนให้ได้สักประมาณ 40,000 คำ เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยบทนำ ทบทวนวรรณกรรม (อภิปรายงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวช้องกับงานวิจัยของเราและอภิปรายวิธีการทำวิจัยของเรา) วิธีดำเนินงานวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการวิจัย เราต้องเขียนให้เสร็จภายใน 1 ปี
มีแผนการทำงานที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามความจริง. การมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ไม่ว่าจะทำงานใดก็ตาม เราต้องมีแผนการทำงานที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามความจริง ตัวอย่างเช่น มีตารางงานที่เฉพาะเจาะจงและทำให้สำเร็จได้จริง มีการใส่เหตุการณ์สำคัญและผลลัพธ์สุดท้ายลงในแผนการทำงาน
· * การมีแผนการทำงานระยะยาวที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามความจริงเป็นการลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า หากเกิดเหตุขัดข้องซึ่งอาจทำให้การทำงานไม่เป็นตามแผนการที่วางไว้ เช่น การทำงานไม่ทันตามกำหนดและความเหนื่อยล้าจากการทำงานนานหลายชั่วโมง
กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาเพื่อวัดความก้าวหน้า. ขั้นตอนและระยะเวลาเปรียบเสมือนหลักเขตที่ช่วยบอกว่าเหลือระยะทางอีกเท่าไรถึงจะบรรลุเป้าหมาย การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาต่างๆ นั้นง่ายมาก เราแค่ต้องเริ่มจากจุดสุดท้ายก่อน (บรรลุเป้าหมาย) และค่อยย้อนกลับไปจุดและสถานการณ์ที่เราอยู่ตอนนี้
· * การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาช่วยเราได้ และถ้าสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานเป็นทีมได้ ทุกคนก็จะมีแรงบันดาลใจในการทำงานให้ลุล่วง เพราะเราได้แตกงานใหญ่ออกเป็นงานย่อยและเป้าหมายที่จับต้องได้ ฉะนั้นเราก็จะรู้สึกว่าตนเองนั้นบรรลุเป้าหมายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรอจนกว่างานใหญ่เสร็จโดยสมบูรณ์ก่อน แล้วจึงรู้สึกว่าตนบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจแล้ว
แบ่งงานใหญ่ออกเป็นงานย่อยที่สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น. สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะงานหรือขั้นตอนบางอย่างอาจดูหนักหนาและทำให้สำเร็จยากกว่างานอื่น
เขียนสิ่งที่ต้องทำพร้อมกำหนดเวลา. เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จพร้อมกำหนดระยะเวลา เขียนแค่สิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวไม่เพียงพอ เราต้องเขียนระยะเวลาในการทำลงไปพร้อมกับระบุการกระทำของตนให้ชัดเจนตามความเป็นจริง
มีกำหนดเวลาสำหรับงานทุกอย่าง. ถ้าไม่มีกรอบเวลาและเส้นตายที่ชัดเจน สุดท้ายงานนั้นก็จะเกินเวลาที่กำหนดไว้และบางงานอาจไม่มีทางเสร็จเลยก็ได้
สร้างแผนภาพการทำงานขึ้นมา. พอได้เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำและกำหนดระยะเวลาในการทำแต่ละภารกิจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างแผนภาพการทำงานขึ้นมา อาจวาดเป็นแผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน แผนภูมิแกนต์ แผ่นตารางทำการ หรือใช้เครื่องมือทางธุรกิจอื่นๆ วาดแผนภาพการทำงานขึ้นมา
ทำตามแผนการทำงานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้. พอวางแผนการทำงานเสร็จ นำมาแบ่งปันกับทุกคนในทีม (ถ้ามี) แล้วมีกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาเรียบร้อย ขั้นต่อไปนั้นง่ายมากนั้นคือทำตามแผนการทำงานที่กำหนดไว้จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
3.ทักษะการจัดองค์การ
การจัดองค์การ (Organizing) คือ การจัดระเบียบกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์การ และ
มอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การจัดองค์การที่ดี จะช่วยให้การบริหารการจัดการมีประสิทธิภาพได้เนื่องจาก
1. ทำให้ทราบขอบเขต ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ
2. ช่วยป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน
3. ช่วยประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้ดี
4. ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงานในองค์การได้
5. สามารถแสดงให้เห็นตัวภาระหน้าที่ความรับผิดชอบได้ชัดเจน
6. ทำให้มีระบบการสื่อสารตามสายการบังคับบัญชาที่ดี
4.ทักษะการเสนอแนะ
* การถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
* สื่อสารเข้าใจง่าย (Simple Communication)
* ความมั่นใจในการนำเสนอ(Confidence)
* คนติดตามฟังอย่างตั้งใจ(Engagement)
5.ทักษะการจูงใจ
*ก่อนที่คุณจะไปจูงใจใคร คุณต้องมีความรู้สึกว่า คุณอยากจูงใจเสียก่อน มิฉะนั้น เราจะไม่ค่อย อยากทำอะไรให้ใคร
*การจูงใจนั้น ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น เพื่อความสำเร็จ อะไรบางอย่าง
*การจูงใจนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็นช่วงๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผล อย่างแท้จริง
*การจูงใจนั้น ต้องการความสนใจ อย่างจริงจัง การยอมรับ จากคนใดคนหนึ่ง เป็นพิเศษ
*เพื่อให้การจูงใจ ได้ผลอย่างแท้จริง
*ความก้าวหน้า และความสำเร็จ เป็นส่วนหนึ่ง ของการจูงใจ ที่ได้ผล
*การจูงใจนั้น จะสร้างความท้าทาย ให้เกิดขึ้น
*ขอให้เชื่อเถิดว่า คนทุกคนมีปุ่ม ให้กด เพื่อการจูงใจทั้งนั้น
*ทีมทำงาน ก็มีส่วนช่วยกระตุ้น หรือสร้างแรงจูงใจได้ แต่ต้องระวัง อย่าให้มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ ทีมแตกได้
หากคุณไม่มีสายสัมพันธ์ที่ดี คุณจะทำงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์ ลำบากด้วยซ้ำ การจูงใจ ที่นักแรงงานสัมพันธ์ ต้องริเริ่ม หรือแนะนำ ให้สายงานทำนั้น จะนำไปสู่สายสัมพันธ์ ที่แนบแน่น เข้าถึงคนง่าย เรื่องของ การแรงงานสัมพันธ์ หากไม่มีตัวอย่าง หรือกรณีจริงๆ มาให้ศึกษา จะไม่สนุก และไม่เข้าใจ จริงจัง
6.ทักษะการเจรจาต่อรอง
ทักษะการเจรจาต่อรอง เป็นคอร์สอบรมการเจรจาต่อรองขั้นเทพที่เน้นการให้องค์ความรู้ (Knowledge) ในการเจรจาต่อรองแบบ Win : Win ให้ความเข้า (Understand) ในกระบวนการเจรจาต่อรอง การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ให้ได้ผลในการเจรจาต่อรอง สร้างทักษะ (Skill) ในการเจรจาต่อรอง ทักษะการเตรียมความพร้อมที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนและวิธีการในการเจรจาต่อรองที่ประสบผลสัมฤทธิ์ สร้างทัศนคติ (Attitude) ที่ถูกต้องในการเจรจาต่อรองว่าไม่ใช่เรื่องยากและมีอยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถเข้าใจธรรมชาติการเจรจาต่อรองที่เกิดขึ้นรอบตัวเราตลอดเวลา ซึ่ผู้เข้ารับการอบรมจะเข้าใจในขั้นตอนของการเจรจาต่อรองเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในระหว่างการเจรจาต่อรองและวิธีการในการสร้างโครงสรา้งการเจรจากับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้การเจรจาต่อรองสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น